วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

Panuwat Seedasatian กลุ่ม.14 รหัส.5100526

Work Groupe
1. การจะจำแนกข้อมูลดินที่ระดับความลึก ที่ 1.4-4.6 m จะต้องใช่ข้อมูลในห้องปฏิบัติการอะไรบ้าง

Ans

- PI,WL,WP (Atterberg)

- Sieve Analysis%

ในบทนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดการจำแนกดินเพียง 2 ระบบ คือ
1. ระบบ Unified Soil Classification

2. ระบบ AASHO Classification

ทังสองระบบ อาศัยข้อมูลพื้นฐานในการจำแนกคล้ายๆกัน คือ การกระจายและขนาดของเม็ดดิน, ค่า Atterberg’s limits (L.L., P.L., P.I) สีกลิ่น และการจับตัวของเม็ดดิน รวมทั้งอินทรีย์สารที่เจือปน ซึ่งรายละเอียดการทดสอบหาข้อมูลเหล่านี้ได้กล่าวไว้ในบทของ Atterberg’s Limits และ บทของการหาขนาดเม็ดดิน แล้ว



การจำแนกโดยระบบ Unified Soil Classification
ใช้อักษรย่อ 2 ตัว ทำให้จดจำง่าย และมีความหมายในตัวเอง เช่น G = Gravel (กรวด), S = Sand (ทราย), M = Silt (ดินทราย), C = Clay (ดินเหนียว), W = Well Graded (เม็ดคละ), P = Poorly Grade (เม็ดไม่คละ), H = High Liquid Limit (L.L. มีค่าสูง), L = Low Liquid Limit (L.L. มีค่าต่ำ) หรือ O = Organic (ดินมีอินทรียสารปนมาก) ดังแสดงในรูปที่ 1 และตารางที่ 1
ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะขนาดเม็ดดิน เป็นพวกเม็ดหยาบได้แก่ กรวด (Gravel) และทราย (Sand) และพวกเม็ดละเอียด ได้แก่ ดินเหนียว (Clay) และดินทราย (Silt)
2. แบ่งย่อยตามลักษณะการกระจายของเม็ด สำหรับพวกเม็ดหยาบเป็นพวกที่เม็ดคละหลายขนาด (Well Graded) และเม็ดไม่คละ เนื่องจากมีเม็ดขนาดเดียวกันมากหรือขนาดเม็ดขาดช่วง (Poorly Grade)
3. แบ่งย่อยตามค่า Atterberg’s Limits สำหรับพวกเม็ดละเอียด เรียกว่า Plasticity เช่น พวกมีค่า L.L. และ P.I. สูงเรียกว่า High Liquid Limit เป็นต้น
เมื่อถึงขั้นสุดท้าย จะมีอักษรย่อแทน 2 ตัว (ในกรณีก้ำกึ่งใช้ 4 ตัว) เช่น CH, GW, SP หรือ GM-GC, ML-CL

การจำแนกโดยระบบ AASHO Classification
ใช้อักษรย่อจาก A – 1 ถึง A – 7 โดยที่เรียงลำดับจากความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทาง คือ A – 1 ถึง A – 3 เหมาะสมมาก ส่วน A – 4 ถึง A – 7 พอใช้ถึงใช้ไม่ได้นอกจากนั้นยังมีการแบ่งย่อยลงไปอีกสำหรับ กรุ๊ป A – 1, A – 2, A – 7 เช่น A – 1 - a, A – 1 - b, A – 2 – 4, A – 2 - 7, A – 7 – 5 เป็นต้น ดังแสดงในตารางที่ 2
ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้
1. แบ่งตามการกระจายของเม็ดดิน
2. แบ่งตามค่า Atterberg’s Limits
3. แบ่งตามค่า Group Index (G.I.)
เมื่อถึงขั้นตอนสุดท้ายจะมีอักษรต่อ 2 หรือ 3 และมีวงเล็บต่อท้ายด้วยค่า Group Index เช่น A – 1 – a (0), A – 3 (0), A – 7 – b (12)
วิธีการจำแนก
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเข้าใจในการจำแนกดินตามขั้นตอนต่าง ๆ จึงขอยกตัวอย่างข้อมูลจากการหาขนาดเม็ดดินและ Atterberg’s limits สัก 3 ตัวอย่าง คือ SOIL A, B, C ในตารางที่ 3



รูปที่ 2 กราฟสำหรับหาค่า Group Index และกราฟการจำแนกย่อยของกรุ๊ป A – 4 ถึง A




ตารางที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลเพื่อการจำแนกดิน





1. ระบบ Unified Soil Classification


SOIL A

เมื่อพิจารณาข้อมูลจากตารางที่ 3 และรูปที่ 1 และตารางที่ 1 จะจำแนกดิน SOIL A ตามขั้นตอนดังนี้


1. พิจารณาว่าเป็นดินเม็ดหยาบ เพราะขนาดที่เล็กกว่าตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% เท่านั้น


2. เป็นดินทราย (Sand) เพราะขนาดที่เล็กกว่า ตะแกรงเบอร์ 4 มีถึง 61.0%

3. เป็นดินทรายที่มีส่วนของเม็ดเล็ก (Fine)น้อย (น้อยกว่า 5% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200) จึงเป็นจำพวก SW
หรือ SP

4. พิจารณาการกระจายของเม็ดดินจากรูปที่ 3







ดังนั้น ดินตัวอย่าง SOIL A เป็น SW (Well graded sand, with little fine)สำหรับ SOIL B และ SOIL C ได้รวมการจำแนกและเหตุผลในตารางที่ 4






รูปที่ 3 กราฟการกระจายของเม็ดดินจากตัวอย่าง SOIL A, SOIL B, และ SOIL C


ตารางที่ 4 ขั้นตอนการจำแนกตัวอย่างดิน SOIL B และ C โดยระบบ Unified Soil Classification


2. ระบบ AASHO Classification

SOIL A

โดยการนำข้อมูลจากตารางที่ 3 นำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับตารางที่ 2 ซึ่งมีมาตรฐานการจำแนกดินในระบบนี้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เป็นจำพวก Granular Material เพราะส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% น้อยกว่า 35%

2. จากการกระจายของเม็ดทำให้ทราบว่าตัวอย่างดินอาจจะอยู่ในจำพวก A–1 หรือ A–2 เนื่องจากข้อมูลส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 10, 40, และ 200 สอดคล้องกัน

3. พิจารณาข้อมูลจาก Atterberg’s limit; L.L. = 33.2, P.I = 6.8 ตรงกับคุณสมบัติของจำพวก A–2–4 คือ L.L ไม่เกิน 40, และ P.I ไม่เกิน 10

4. หาค่า Group Index จากรูปที่ 2 หรือสมการข้างล่าง


G.I. = 0.2a + 0.005 a.c + 0.001 b.d



เมื่อ :a=% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 35% แต่ต่ำกว่า 75% ใช้เลขจำนวนเต็ม

b=% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 15% แต่ต่ำกว่า 55% ใช้เลขจำนวนเต็ม

c=ค่า L.L ส่วนที่เกิน 40% แต่ต่ำกว่า 60% ใช้เลขจำนวนเต็ม

d =ค่า P.I ส่วนที่เกิน 10% แต่ต่ำกว่า 30% ใช้เลขจำนวนเต็ม


หมายเหตุ : ในกรณีที่ค่า a, b, c หรือ d มีค่าเกิน 40, 40, 20 และ 20 ตามลำดับ ให้ใช้ค่าสูงสุด คือ 40, 40, 20 และ 20


ในกรณี SOIL B


a = 0, b = 0, c = 0, d = 0


ดังนั้นค่า G.I, (SOIL A) = 0



แต่ในกรณี SOIL B


a = 51.2 - 35 = 16.2 ใช้ 16


b = 51.2 - 15 = 36.2 ใช้ 36


c = 55.0 - 40 = 15.0 ใช้ 15


d = 35.0 - 10 = 25.0 ใช้ 20 เพราะเกินกว่าค่าสูงสุด
ดังนั้น G.I. (SOIL B) = 0.2(16) + 0.005(16)(15) + 0.1(36)(20)
= 11.6 ใช้ 12


5. สัญลักษณ์จากการจำแนก SOIL A คือ A–2 –4 (0) โดยที่ตัวเลขในวงเล็บคือค่า Group Index สำหรับ SOIL B และ C ได้รวมการจำแนกและเหตุผลในตาราง 5



2. ความหมายของตัวอักษรย่อต่างๆ

Ans

- Sampling การสุ่มตัวอย่าง

- Permeability การซึมผ่านได้ของน้ำ

-Rock Quality Designation (RQD) เป็นคุณสมบัติของตัวอย่างแกนหินที่ได้จากการเจาะ สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพของหินได้ วิธีการหามีดังนี้

2.1) Core Recovery (CR) พิจารณาจากแกนหินที่ได้ในแต่ละช่วงของการเจาะเก็บตัวอย่างขึ้นมานำมาคำนวณหาค่าCR(%) โดยใช้สูตร CR(%) = (ผลรวมของ Core ที่ได้ x 100) / Core run ค่า CR(%) ที่หาได้ สามารถแบ่งออกเป็น 5 Degree และเปรียบเทียบหาคุณสมบัติของหินได้

2.2) Rock Quality Designation (RQD) พิจารณาจากแกนหินในแต่ละช่วงของการเจาะเก็บตัวอย่างที่มีความยาวต่อเนื่องตั้งแต่ 10 cm. ขึ้นไป(Nx size) โดยมีรอยแตกตามธรรมชาติทั้งด้านบนและด้านล่าง นำมาคำนวณหาค่า RQD เป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งหาได้จาก RQD(%) = (ผลรวมของ Core ที่ยาว ≥ 10 cm.x100)/Core run

- Disturbed sample การเก็บตัวอย่างดินเปลี่ยนสภาพ

-Undisturbed sample การเก็บตัวอย่างดินคงสภาพ

-Core recovery การสูญเสียของ core

-Point load strength จุดรับแรง

-Standard penetration test การตรวจสอบแรงของชั้นดิน

1 ความคิดเห็น:

  1. ลองนำข้อมูลผลจากการทดสอบใน lab จากกรมโยธามาลองจำแนกดูนะคะ

    ตอบลบ